ท่าคันโท

กศน

วันเสาร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2555

วิสัยทัศน์ / พันธกิจ


วิสัยทัศน์ / พันธกิจ  
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอท่าคันโท

1.วิสัยทัศน์
       ศูนย์ กศน.อำเภอท่าคันโท เป็นองค์กรหลักในการสร้างสังคมอุดมปัญญาด้วยการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาชน อย่างมีคุณภาพและทั่วถึง


2.ปรัชญา
                                ความรู้ คู่คุณธรรม นำการศึกษา

3. อุดมการณ์
                                ยกระดับการศึกษา  พัฒนาคุณภาพชีวิต  พิชิตความไม่รู้  เคียงคู่ประชาชน

4. พันธกิจ
1.             จัดและส่งเสริมการศึกษาพื้นฐานนอกระบบ ให้ผู้พลาดโอกาสทางการศึกษา อย่างทั่วถึงโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2.             จัดและส่งเสริมการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายโดยให้ชุมชนมีส่วนร่วม และใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เหมาะสม
3.             จัดและส่งเสริมการศึกษาตามอัธยาศัยให้ประชาชน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตโดยจัดส่งเสริมสนับสนุนแหล่งเรียนรู้ สื่อ เทคโนโลยี และชุมชนเป็นฐานในการเรียนรู้
4.             สร้างความเข้มแข็งของภาคีเครือข่ายในการร่วมจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำหรับประชาชนกลุ่มเป้าหมาย


5. กลยุทธ์
                                1. การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่หลายหลากและทั่วถึง
                                2. พัฒนาทักษะการเรียนรู้ด้านอาชีพของประชาชน
                                3. พัฒนาแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เป็นฐานการเรียนรู้ของชุมชน
                                4. ส่งเสริมและสนับสนุนให้ภาคีเครือข่ายร่วมจัดการศึกษา
                                5. ปรับระบบบริหารที่มุ่งการบริการที่มีคุณภาพ

6. เป้าประสงค์    
                                                        1. คนไทยได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างทั่วถึง ครอบคลุม และเป็นธรรม
                                                  2. ผู้เรียนและผู้รับบริการได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพได้มาตรฐานและมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ เพื่อให้มีความเชื่อมั่นศรัทธาในการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหา
                  กษัตริย์ทรงเป็นประมุข (Democracy) มีคุณธรรม จริยธรรม มีความภาคภูมิใจในความเป็นไทย (Decency) และมีภูมิคุ้มกันภัยจากยาเสพติด (Drug-Free)
        3. ภาคีเครือข่ายเข้ามาร่วมดำเนินการจัดการศึกษาตลอดชีวิต
                                4. ชุมชนมีการจัดการความรู้และกระบวนเรียนรู้เพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต
        5. ส่งเสริมแหล่งการเรียนรู้ที่มีอยู่อย่างทั่วถึงและได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อสนองตอบความต้องการการเรียนรู้ของประชาชน
        6. สถานศึกษานำเทคโนโลยีเพื่อการศึกษามาใช้ในการบริการการเรียนรู้แก่ประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ

7. ตัวชี้วัด
                                1. ร้อยละของผู้รับบริการ มีความพึงพอใจต่อการรับบริการในระดับมากขึ้นไป
                                2. จำนวนผู้รับบริการการศึกษาพื้นฐานนอกระบบ
                                3. จำนวนผู้รับบริการการศึกษาตามอัธยาศัย
                                4. จำนวนผู้รับบริการการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
                                5. จำนวนภาคีเครือข่ายที่ที่มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
                                6. จำนวนแหล่งการเรียนรู้ที่มีความพร้อมนำการให้บริการ
                                7. ร้อยละของผู้รับบริการที่ได้รับการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
                               
8.  ร้อยละของผู้เรียน/ผู้รับบริการการศึกษานอกระบบแต่ละหลักสูตรสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
                               
9. จำนวนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ครู กศน. ที่ได้รับการพัฒนา

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น