ท่าคันโท

กศน

วันเสาร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ประวัติความเป็นมาของอำเภอท่าคันโท


ประวัติความเป็นมาของอำเภอท่าคันโท

                บ้านโคกพันลำ  ตำบลภูคนโท ได้รับการสถาปนาเป็นเมือง นามว่า เมืองสหัสขันธ์ (หรืออำเภอสหัสขันธ์ในเวลาต่อมา) ขึ้นกับเมืองกาฬสินธุ์ มีพระประชาชนบาล (ท้าวแสน) บุตรพระราษฎรบริหาร (เจ้าเมืองกมลาศไสย) เป็นเจ้าเมืองคนแรก เมื่อปีขาล อัฏฐศก จุลศักราช 1228 (พ.ศ. 2410)
              บ้านโคกพันลำ คือ ดงเข้ากรรม ปัจจุบันเป็นสถานที่ตั้งของวัดและบ้านโนนมะค่า  หมู่ที่  3  ตำบลกุงเก่า อันเป็นที่ตั้งเมืองสหัสขันธ์ครั้งแรก ต่อมาเจ้าเมืองได้ย้ายที่ตั้งมาตั้งที่บ้านโคก อันเป็นสถานที่ตั้งบ้านท่าเมือง ตำบลท่าคันโท ในปัจจุบันเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองของไทย จากแบบหัวเมืองหรือเมืองขึ้นมาเป็นมณฑล เมื่อปี  พ.ศ. 2435  เมืองต่างๆ ที่เป็นเมืองขึ้นทั้งหลายก็ได้เป็นอำเภอทั้งสิ้นรวมทั้งเมือง สหัสขันธ์ด้วย และได้รวมเอาเมืองแซงบาดาลเข้าเป็นอำเภอเดียวกัน เรียกว่าอำเภอ สหัสขันธ์ และได้ย้ายที่ว่าการอำเภอไปตั้ง ณ ตำบลโพน (ตำบลโพน อำเภอคำม่วง) ทำให้ราษฎรที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ ณ ที่ตั้งเมือง สหัสขันธ์เดิม ส่วนหนึ่งได้พากันย้ายมาตั้งบ้านเรือนอยู่  ณ  บริเวณตรงกลางระหว่างลำน้ำสองสาย  คือ ด้านทิศตะวันออก เรียกว่าลำห้วยยาง (เพราะมีป่ายางมาก) ด้านทิศตะวันตก เรียกว่าลำห้วยบง (เพราะมีป่าไม้ไผ่บงมาก) ซึ่งลำห้วยทั้งสองมีต้นกำเนิดจากภูเขาดงมูล (ลำห้วยยางต้นน้ำเกิดจากภูใน และลำห้วยบงเกิดจากภูโน) ที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยป่าไม้และสัตว์ป่านานาชนิด ลักษณะสายน้ำหรือทางน้ำไหลของลำห้วยทั้งสองเป็นลักษณะคล้ายคนโทน้ำ (คนโทน้ำสมัยโบราณ) ไหลลงสู่ลำน้ำปาว ประชาชนที่เป็นพ่อค้าวาณิช (เฉพาะหน้าฝน) ได้อาศัยลำน้ำปาวทำการค้าทางน้ำด้วยเรือที่เรียกว่าเรือกะแซง และเรียกฝั่งที่จอดเรือนำสินค้าขึ้นและลงว่า ท่า ชุมชนที่ย้ายมาตั้งใหม่นี้จึงได้ชื่อว่า บ้านท่าคนโท และเรียกบ้านเดิมที่พวกตนย้ายมาว่า บ้านเก่า คือ บ้านท่าเมือง ตำบลท่าคันโท ในปัจจุบัน
               บ้านท่าคันโท เมื่อได้จัดตั้งเป็นหมู่บ้านตามลักษณะปกครองท้องที่และมีฐานะเป็นตำบลด้วยเรียกว่า ตำบลท่าคันโท ขึ้นกับอำเภอ สหัสขันธ์  จังหวัดกาฬสินธุ์  ประกอบด้วยหมู่บ้านขณะนั้น รวม  10  หมู่บ้าน  ดังนี้
            1.  บ้านท่าคันโท
            2.  บ้านนาตาล
            3.  บ้านยางอู้ม
            4.  บ้านดงบัง
            5.  บ้านท่าเมือง
            6.  บ้านโนนมะค่า
            7.  บ้านกุดขอนแก่น
            8.  บ้านสร้างแก้ว
            9.  บ้านกุงเก่า
           10.  บ้านกุดจิก
            ตำบลท่าคันโท ได้รับการจัดตั้งยกฐานะเป็นกิ่งอำเภอ (กรณีพิเศษ)  เมื่อวันที่  1  ตุลาคม
 พ.ศ.  2505  ประกอบด้วยตำบล  2  ตำบล   คือ  ตำบลท่าคันโท และตำบล สหัสขันธ์ (ปัจจุบันตำบล สหัสขันธ์ได้โอนไปขึ้นกับอำเภอ สหัสขันธ์)มีนายทะนงศักดิ์  คุณอุดม  ดำรงตำแหน่งปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอคนแรก  และได้รับการยกฐานะเป็นอำเภอ   เมื่อปี พ.ศ. 2510  มีนายมนตรี (วิบูลย์) วิบูลชัย ดำรงตำแหน่งนายอำเภอคนแรกของอำเภอท่าคันโท โดยมีนายพรต ภูภักดิ์ 
ดำรงตำแหน่งนายอำเภอท่าคันโทคนปัจจุบัน
 
คำขวัญอำเภอท่าคันโท
                                           วนอุทยานภูพระ                           แดนป่าดงมูล
                                           ถิ่นบุญบั้งไฟ                               ผ้าลายคำมาส
                                           เมืองประวัติศาสตร์ทวาราวดี        พื้นที่กำเนิดไดโนเสาร์


แผนที่อำเภอท่าคันโท 



ข้อมูลทั่วไปอำเภอท่าคันโท

 วิสัยทัศน์อำเภอท่าคันโท
มุ่งพัฒนาคน ส่งเสริมครอบครัวอบอุ่น เสริมสร้างชุมชนเข้มแข็ง
แหล่งผลิตพืชผลทางการเกษตร

สภาพทั่วไปของอำเภอท่าคันโท

      1.  ลักษณะที่ตั้ง
           อำเภอท่าคันโท ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัดกาฬสินธุ์  ห่างจากจังหวัด  109  กิโลเมตร  ห่างจากกรุงเทพมหานคร  645  กิโลเมตร มีเนื้อที่  251,475  ไร่  หรือ 403 ตารางกิโลเมตร
      2.  ลักษณะภูมิประเทศ   
           อำเภอท่าคันโท มีรูปร่างลักษณะคล้ายสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ลักษณะภูมิประเทศ  แบ่งเป็น  3  ลักษณะ  ดังนี้
           1)  ลักษณะที่ราบลุ่ม เป็นบริเวณพื้นที่ทางตอนกลางในเขตตำบลท่าคันโท ตำบลกุงเก่า  ตำบลยางอู้ม และบางส่วนของตำบลนาตาล มีพื้นที่ประมาณร้อยละ  30  ของพื้นที่อำเภอ (75,443 ไร่) เป็นเขตเพาะปลูกข้าว 
           2)  ลักษณะเนินสลับภูเขา  เป็นบริเวณพื้นด้านทิศใต้ของอำเภอ เขตตำบลกุงเก่า  ตำบลยางอู้ม  ตำบลกุดจิก  มีพื้นที่ประมาณร้อยละ 60 ของพื้นที่อำเภอ (150,885 ไร่) เป็นเขตป่าไม้   ได้แก่  เขตพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติดงมูลเป็นพื้นที่ของภูโน และวนอุทยานภูพระ    
          3)  ลักษณะที่ราบน้ำท่วมถึง เป็นบริเวณพื้นส่วนที่ด้านทิศเหนือของอำเภอในเขตตำบลดงสมบูรณ์  ตำบลนาตาล  ตำบลท่าคันโท  ตำบลกุงเก่า  และตำบลกุดจิก  ซึ่งติดต่อกับเขตชลประทานลำน้ำปาว ระยะประมาณ  30  กิโลเมตร  ในช่วงฤดูฝนน้ำหลาก น้ำจะท่วมขัง  ฤดูแล้งน้ำจะลดระดับลงอย่างมาก เหลือพื้นที่ไว้เป็นทุ่งหญ้า สำหรับเลี้ยงสัตว์ และราษฎรบางส่วนได้อาศัยพื้นที่ส่วนนี้ประกอบอาชีพ ด้านการประมงน้ำจืด
      3.  อาณาเขต
           อำเภอท่าคันโท มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอและจังหวัดใกล้เคียง  ดังนี้     
           -  ทิศเหนือ         ติดต่อกับอำเภอศรีธาตุ  อำเภอวังสามหมอ จังหวัดอุดรธานี
           -  ทิศใต้               ติดต่อกับอำเภอหนองกุงศรี  จังหวัดกาฬสินธุ์
                                      และอำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น
           -  ทิศตะวันออก    ติดต่อกับอำเภอวังสามหมอ จังหวัดอุดรธานี และอำเภอหนองกุงศรี  จังหวัดกาฬสินธุ์
           -  ทิศตะวันตก   ติดต่อกับอำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น และอำเภอกุมภวาปี  จังหวัดอุดรธานี

4.  พื้นที่และการทำประโยชน์
           พื้นที่อำเภอท่าคันโท  มีพื้นที่ทั้งหมด      251,475      ไร่       แยกเป็น
           พื้นที่ทำการเกษตร (ทำนา ทำไร่ ทำสวน ปศุสัตว์ ฯลฯ)   106,835   ไร่  

  5.  ภูมิอากาศ             
           ลักษณะภูมิอากาศเป็นแบบมรสุมมี  3  ฤดู                      
           5.1  ฤดูร้อน    เริ่มตั้งแต่  เดือนมีนาคม  -  เดือนมิถุนายน         
           5.2  ฤดูฝน      เริ่มตั้งแต่  เดือนกรกฎาคม  -  เดือนตุลาคม          
           5.3  ฤดูหนาว  เริ่มตั้งแต่  เดือนพฤศจิกายน -  เดือนกุมภาพันธ์ 

   6. ครัวเรือนและประชากร ตามข้อมูลทะเบียนราษฎร์ ปี 2552

ที่
ตำบล
ครัวเรือน
ประชากร
รวม
ชาย
หญิง
1
ท่าคันโท
1,394
2,909
2,808
5,717
2
กุงเก่า
1,517
3,320
3,293
6,613
3
ยางอู้ม
1,024
2,180
2,181
4,361
4
กุดจิก
1,279
2,705
2,760
5,465
5
นาตาล
2,079
5,300
5,249
10,549
6
ดงสมบูรณ์
1,201
2,330
2,263
4,593

รวม
8,494
18,742
18,554
37,296
                                                           
 ข้อมูล ณ วันที่ 15 กรกฎาคม 2553
  




   7.  การปกครอง           
           แบ่งเขตการปกครอง ออกเป็น  6  ตำบล  60  หมู่บ้าน/ชุมชน  ( 5 อบต. และ 1 เทศบาล)  ดังนี้
1.  ตำบลท่าคันโท              9  หมู่บ้าน  (อยู่ในเขตเทศบาล )
                           2.  ตำบลกุงเก่า                                11 หมู่บ้าน      
                           3.  ตำบลยางอู้ม                               6  หมู่บ้าน           
4.  ตำบลกุดจิก                     11 หมู่บ้าน          
5.  ตำบลนาตาล                   14 หมู่บ้าน (อยู่ในเขตเทศบาล 1, 2, 3, 12)
6.  ตำบลดงสมบูรณ์           9  หมู่บ้าน

 8.  ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ  อาชีพ  รายได้
           8.1  ข้อมูลด้านรายได้
                  1)  ครัวเรือนที่มีรายได้เฉลี่ยตั้งแต่  23,000  บาท     ต่อคนต่อปี
                        จำนวน     6,151        ครัวเรือน
                  2)  ครัวเรือนที่มีรายได้เฉลี่ยต่ำกว่า   23,000  บาท   ต่อคนต่อปี
                       จำนวน     134         ครัวเรือน
                  3)  รายได้เฉลี่ยของอำเภอท่าคันโท      48,184       บาท ต่อคนต่อปี
            8.2  ข้อมูลด้านอาชีพของอำเภอท่าคันโท  
                  1)  การเกษตร  ส่วนใหญ่ปลูกอ้อย  ข้าว  มันสำปะหลัง  เป็นหลัก
                  2)  การปศุสัตว์ ส่วนใหญ่จะเลี้ยงสัตว์จำพวก โค กระบือ สุกร เป็ด  ไก่
                  3)  การอุตสาหกรรม  มีโรงงานอุตสาหกรรมที่ได้รับอนุญาตดำเนินการและประกอบการจำนวน  1  แห่ง  คือ  โรงงานแป้งมันไทยวา  ตั้งอยู่ที่ตำบลนาตาล       
     
 9.  การพาณิชย์
           9.1  มีสถานบริการน้ำมันเชื้อเพลิง      จำนวน     8      แห่ง
           9.2  มีธนาคาร (ธกส.)                         จำนวน    1     แห่ง
  
   10.  การท่องเที่ยว
              10.1  วนอุทยานภูพระ  บ้านหนองแซง  ตำบลนาตาล               
              10.2  รอยเท้ามนุษย์โบราณ  พรานป่า  ภูโล้น  บ้านยางอู้ม  ตำบลยางอู้ม
              10.3  รอยพระพุทธบาท  บ้านดงบัง  ตำบลดงสมบูรณ์    
              10.4  รอยจารึกหินทรายและพระพุทธรูปหินทราย  บ้านโนนมะค่า  ตำบลกุงเก่า


 11.  ด้านการศึกษา  ศาสนา และสุขภาพ/อนามัย
              11.1  การศึกษา                                         
                        1) มีสถานศึกษาสังกัดสำนักงานพื้นที่การศึกษา เขต 2   จำนวน 22 โรงเรียน 
1.1)  เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษา  2  แห่ง 
1.2) โรงเรียนขยายโอกาส  6  แห่ง
1.3) โรงเรียนระดับประถมศึกษา  14  แห่ง
                        2)  สถานศึกษาของเอกชน  2  แห่ง
                        3)  สถานศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอท่าคันโท จำนวน 1 แห่ง
                        4)  ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก      จำนวน   17 แห่ง
              11. 2  การศาสนา  ประชาชนร้อยละ 95  นับถือศาสนาพุทธ     
                        1) วัด/สถานที่ประกอบกิจกรรมทางศาสนา     55     แห่ง
              11.3  ด้านสุขภาพอนามัย                             
                        1)  โรงพยาบาล ขนาด  30  เตียง        จำนวน  1  แห่ง
                        2)  สถานีอนามัยประจำตำบล             จำนวน  7  แห่ง
                        3)  สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ        จำนวน  1  แห่ง
                        4)  สถานพยาบาลเอกชน                     จำนวน  1  แห่ง
                        5)  มีร้านขายยาที่ได้รับอนุญาต           จำนวน 2 แห่ง
               11.4  ประเพณี วัฒนธรรมที่สำคัญ
                    ชาวอำเภอท่าคันโทมีประเพณีที่สำคัญและยึดถือปฏิบัติกันมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน  คือ
                          1)  ประเพณีส่วนบุคคล  มีการทำบุญบ้าน  การบายศรีสู่ขวัญ  การแต่งงาน  ทำบุญขึ้นบ้านใหม่  และการบวช                                    
                          2)  ประเพณีส่วนรวม  ยึดถือปฏิบัติตามประเพณีฮีตสิบสอง ครองสิบสี่หรือการทำบุญตามประเพณี  12  เดือนของชาวอีสาน                

 12.  ข้อมูลโครงสร้างพื้นฐานและทรัพยากรธรรมชาติ
               12.1  ไฟฟ้า  การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคดำเนินการจ่ายไฟฟ้าได้ครบ 60 หมู่บ้าน คิดเป็น ร้อย 100
               12.2  ประปา เทศบาลตำบลท่าคันโทได้ให้บริการด้านน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคครอบคลุมผู้ใช้ในเขตเทศบาล และมีประปาขององค์การบริหารส่วนตำบล  จำนวน  47 แห่ง
               12.3  โทรศัพท์ มีชุมสายโทรศัพท์จำนวน 1 แห่ง ให้บริการ 450 คู่สาย
               12.4  ไปรษณีย์อำเภอท่าคันโท              จำนวน   1    แห่ง
               

 13.  ทรัพยากรธรรมชาติ                   
               13.1  ทรัพยากรดิน  สภาพดินโดยทั่วไปเป็นดินร่วนปนทราย  ไม่ค่อยอุ้มน้ำ บางแห่งเป็นดินลูกรัง
               13.2  ทรัพยากรน้ำ
                         มีแหล่งน้ำธรรมชาติที่สำคัญ ที่ต้องเร่งดำเนินการพัฒนา  ดังนี้  
                         1)  ลำน้ำปาว  แบ่งเขตอำเภอศรีธาตุ  อำเภอวังสามหมอ  จังหวัดอุดรธานี  ยาวประมาณ  30  กิโลเมตร  ราษฎรใช้ประโยชน์ในด้านการประมงน้ำจืด  และปลูกพืช เลี้ยงสัตว์  จำนวน  1,500  ไร่
                     2)  ห้วยท่าคันโท  ไหลจากภูโนน ลงสู่ลำน้ำปาวทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ  ยาว  12  กิโลเมตร  ราษฎรใช้ประโยชน์ในด้านการปลูกพืช จำนวน  200  ไร่
                     3)  ห้วยบง อยู่ทางทิศตะวันตกของอำเภอ ไหลลงสู่ลำน้ำปาว ยาว  8  กิโลเมตร  ราษฎรใช้ประโยชน์ในด้านการเพาะปลูกพืช จำนวน  100  ไร่
                        4)  ห้วยหัวช้างบง ไหลลงสู่ลำน้ำปาว ราษฎรใช้ประโยชน์ในด้านการเพาะปลูกพืช จำนวน  350  ไร่
                         5)  ห้วยทรายดูน ไหลลงสู่ลำน้ำปาว ราษฎรใช้ประโยชน์ในด้านการเพาะปลูกพืช จำนวน  150  ไร่
                         6)  ห้วยแต ไหลลงสู่ลำน้ำปาว ยาว  7  กิโลเมตร ราษฎรใช้ประโยชน์ในด้านการเพาะปลูกพืช จำนวน  300  ไร่
                         7)  ห้วยหินลาด กั้นเขตอำเภอท่าคันโท กับ อำเภอหนองกุงศรี ราษฎรใช้ประโยชน์ในด้านการเพาะปลูกพืช จำนวน  150  ไร่
                         8)  ห้วยช้างแทง  ไหลจากภูโนลงสู่บ้านด่านช้าง ยาว  8  กิโลเมตร ราษฎรใช้ประโยชน์ในด้านการเพาะปลูกพืช จำนวน  100  ไร่
               13.3  ทรัพยากรป่าไม้  ปัจจุบันมีพื้นที่ที่เป็นพื้นที่ป่าซึ่งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติดงมูล และวนอุทยานแห่งชาติภูพระ ประมาณ   150,855   ไร่
    
 14.  ข้อมูลกลุ่ม/องค์กรต่างๆ ในอำเภอท่าคันโท
              ชาวอำเภอท่าคันโทมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมพัฒนาหมู่บ้านมาอย่างต่อเนื่อง โดยรวมกลุ่มกันทำกิจกรรมต่างๆ แบ่งออกเป็น  2  ประเภท คือ กลุ่มกิจกรรมทั่วไป และวิสาหกิจชุมชน
              14.1 กลุ่มกิจกรรมทั่วไปประกอบด้วย กลุ่มต่างๆ ดังนี้
                     1. กลุ่มทอผ้า
                     2. กลุ่มเลี้ยงสัตว์
                     3. กลุ่มทำขนม
                     4. กลุ่มทำน้ำยาล้างจาน
                     5. กลุ่มทอเสื่อกก
                     6. กลุ่มจักสาน
                     7. กลุ่มเพาะเห็ด
                     8. กลุ่มปลูกพริก
                     9. กลุ่มผู้ปลูกผลไม้
                    10. กลุ่มปลูกอ้อยพันธุ์ดี
                    11. กลุ่มเลี้ยงโคเนื้อเพื่อขยายพันธุ์
              14.2 วิสาหกิจชุมชน
                    ประกอบด้วย วิสาหกิจชุมชนที่ได้รับอนุมัติการจดทะเบียน   จำนวน   77 แห่ง
                    วิสาหกิจชุมชนที่ได้รับการประเมินศักยภาพและจัดระดับ จำนวน   47 แห่ง
                    -  วิสาหกิจที่ได้รับการสนับสนุนการดำเนินงานจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 20 แห่ง


0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น